สาระน่ารู้เกี่ยวกับประเภทของฟิล์มหด (Shrink Film) ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

         ฟิล์มหด (shrink film) หรือ ถุงพลาสติกชริ้งฟิล์ม ถือเป็นนวัตกรรมพลาสติกที่เข้ามาช่วยในการขนส่งสินค้าง่ายขึ้น อีกทั้งฟิล์มหดยังมีคุณสมบัติที่เเข็งเเรง ทนทาน มีลักษณะใส มองทะลุผ่านตัวสินค้าได้ เพราะผลิตจากพลาสติกพอลิไวนิลคลอไรด์หรือพอลิเอทธิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ มีการหดตัวเมื่อได้รับความร้อนช่วยในการปกป้องวัตถุที่กำลังห่อหุ้มอยู่

          สินค้าในชีวิตประจำวันที่เรามักเห็นว่ามีการนำฟิล์มหดเข้ามาใช้งานบ่อยๆ คือ เเพ็คขวดน้ำดื่ม เเพ็คขวดน้ำอัดลม เป็นต้น เเต่ฟิล์มหดจะมีความเเตกต่างจากฟิล์มยืดเนื่องจากไม่สามารถนำมาใช้ห่อวัตถุดิบอาหารในครัว เพราะต้องใช้เครื่องเป่าลมร้อนให้เนื้อฟิล์มหดตัวลงจนกระชับไปกับตัวสินค้า  

ฟิล์มหด


 

เนื้อฟิล์มหด (Shrink Film) มี 2 ลักษณะการใช้งาน

  1. เนื้อฟิล์มเงาและใส สามารถใช้กับวัตถุหรือสินค้าที่ต้องการให้เห็นว่าด้านในสินค้าที่ถูกห่อหุ้มเป็นอะไร ซึ่งเนื้อฟิล์มหดลักษณะนี้จะมีความใส เงางาม พร้อมความทนทานระดับปานกลาง

  2. เนื้อฟิล์มขุ่น ใช้สำหรับการห่อสินค้าที่มีน้ำหนักเยอะ หรือสินค้าที่มีจำนวนมาก ซึ่งเมื่อเนื้อฟิล์มขุ่นโดนความร้อนก็จะเกิดการหดตัวเป็นผิวสัมผัสที่แข็งแรง มีความเหนียวเเละแข็งแรง


         เเต่อย่างไรก็ตาม ในการเลือกใช้ฟิล์มหดทุกครั้ง ก็ควรต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านอื่นๆ ของฟิล์มหด เช่น ความหนา ความเหนียว ความแข็งแรงของรอยปิดผนึก ความใส อุณหภูมิในการหดตัว และระยะเวลาของการเป่าลมร้อนให้เหมาะสม เพื่อป้องกันปัญหาเนื้อฟิล์มแตกขาดหรือยับย่น ไม่สวยงาม เป็นผลให้สินค้าดูไม่น่าซื้อ ขาดความเชื่อมั่นจากผู้บริโภค

 

ทำความรู้จักฟิล์มหด (Shrink Film) 3 ประเภท


        1. ฟิล์มหด ประเภท PVC (Polyvinyl Chloride)

        ฟิล์มหดประเภท PVC มีหลายรูปแบบ อาทิ เช่น ฟิล์มหดใส ฟิล์มหดตัดตรง ฟิล์มหดรีดแบน ฟิล์มหด PVC ซองฟิล์มหดขุ่น ฟิล์มประเภทนี้มีข้อดีคือ ราคาประหยัด น้ำหนักเบา มีความใส หาซื้อตามท้องตลาดทั่วไปได้ง่ายเพื่อนำไปใช้งานได้หลากหลาย เหมาะกับการเป็นเเพ็คเกจจิ้งห่อบรรจุภัณฑ์เกือบทุกชนิด เนื้อฟิล์มสามารถหดตัวเเนบสินค้าด้วยการเป่าลมร้อน ซึ่งเนื้อฟิล์มมีทั้งเเบบสีขุ่นที่เหมาะสำหรับสินค้าที่มีน้ำหนักมาก เเละแบบมันวาว ที่มีลักษณะใสเป็นพิเศษ เหมาะกับการโชว์สินค้าด้านในให้มีความน่าสนใจ

         2. ฟิล์มหด ประเภท PE (Polyethylene)

         พลาสติกประเภท PE สามารถผลิตเป็นฟิล์มที่มีความหนาสูงถึงสามร้อยไมครอน เมื่อเทียบกับฟิล์มหด PVC เเละ POF ที่ความหนายี่สิบห้าไมครอน เเต่ฟิล์มประเภทนี้ถึงมีความหนามากเเละรับน้ำหนักสินค้าได้ดี เเต่ก็มีคุณสมบัติสีที่ใสน้อยกว่าเเละหดตัวน้อยกว่าฟิล์มประเภทอื่นๆ ซึ่งพลาสติกประเภท PE ที่นิยมนำไปผลิตเป็นชริ้งฟิล์มจะเป็นชนิดพลาสติก Low-Density Polyethylene (LDPE) มากกว่า เพราะมีความแข็งแรงและยืดหยุ่นมากกว่า จึงเหมาะสำหรับเเพ็คสินค้าชิ้นใหญ่และมีน้ำหนักมาก เช่น งานแพ็คน้ำดื่ม โดยสามารถพิมพ์ข้อความหรือรูปภาพลงบนฟิล์มได้ง่าย

         3. ฟิล์มหด ประเภท POF (Polyolefin) 

         เป็นประเภทฟิล์มหดที่มีความบางใสมากกว่าฟิล์ม PE เเละ PVC มีความอ่อนนุ่ม แต่เหนียวเเละแข็งแรง เป็นหนึ่งในฟิล์มหดที่มีคุณภาพดีที่สุด ราคาเเพง ฟู้ดเกรด ปลอดภัยต่อผู้ใช้ มีความหนาอยู่ที่ 12-30 ไมครอน เเต่มีขั้นตอนการเเพ็คสินค้าด้วยฟิล์ม POF ค่อนข้างมีความยุ่งยากกว่าฟิล์ม PVC ขึ้นรูปด้วยกระบวนการ Double Bubble Blow Film หรือการเป่าฟิล์มตั้งแต่สามถึงห้าชั้นขึ้นไป เม็ดพลาสติก POF จะถูกรีดผ่านหัวไดร์จากนั้นนำไปอัดลมให้ฟิล์มได้ขยายตัวผ่านน้ำ แล้วนำมาผ่านอุณหภูมิสูงหรือความร้อนเพื่อให้ขยายตัวอีกครั้ง

         การใช้งานฟิล์มหด POF มีทั้งเเบบม้วน แผ่นเดี่ยว แผ่นคู่ สำหรับงานบรรจุสินค้าทั่วไป สินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ ไม่มีสารที่เป็นอันตราย สารก่อมะเร็ง จึงสามารถสัมผัสอาหารได้ ผู้ประกอบการมักนิยมใช้ฟิล์มหดในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหาร อุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ เเละยังนิยมใช้เเพ็คสินค้าเพื่อส่งออกจำหน่ายต่างประเทศอีกด้วย

 

ถุงพลาสติกชริ้งฟิล์ม


ฟิล์มหด     ฟิล์มหด


 

       บริษัท เถิงธงพาณิชย์ พลาสติก จำกัด เป็นผู้ฟิล์มยืดพันพาเลท (Stretch Film), ฟิล์มหด (Shrink Roll), ฟิล์มยืด เครื่องพันฟิล์มพาเลท ฟิล์มหด อุปกรณ์พันฟิล์ม ถุงพลาสติกชริ้งฟิล์ม มอเตอร์ประตูม้วนระบบไฟฟ้า พลาสติกปูพื้นก่อนเทคอนกรีต รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ หลายชนิด ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานสากล พร้อมส่งมอบตรงเวลา ในราคาที่เหมาะสม รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีความซื่อสัตย์ และจะพัฒนาหาความทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพสูงสุด

 

สามารถติดต่อได้ที่ บริษัท เถิงธงพาณิชย์ พลาสติก จำกัด
tengtong.brandexdirectory.com
www.thaifilmwrap.com
www.tengtong.co.th


 

-------------------------------------------------------

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจัยการเลือกฟิล์มยืดพันพาเลทเพื่อนำไปใช้งาน

ชริ้งฟิล์ม (shrink film) คืออะไร

มาทำความรู้จักประเภทของเนื้อพลาสติก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *